มรดกโลกแห่งโครเอเชีย…อุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิตวิเซ่

167 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มรดกโลกแห่งโครเอเชีย…อุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิตวิเซ่

      อุทยานแห่งชาติทะเลสาบพลิทวิเซ่ (Plitvice Lakes National Park) ตั้งอยู่ที่เมืองลิก้า (Lika) ในดินแดนทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ประเทศโครเอเชีย เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นธารน้ำไหลบนหินปูน ผ่านแม่น้ำ
โครานา (Korana) ทำให้เกิดทะเลสาบ 20 แห่งไหลผ่านหินปูนและหินชอล์ก ระหว่างทะเลสาบมีน้ำตกหลายแห่งและชั้นหลากหลายที่ชวนมหัศจรรย์ ที่บ่งบอกถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้
        อุทยานแห่งนี้มีเนื้อที่กว่า 29,482 เฮคเตอร์ พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำมีทะเลสาบสีเขียวมรกตและสีฟ้าเทอร์ควอยซ์แวววาว ความมหัศจรรย์ของสายน้ำ ต้นกำเนิดมาภูเขามาลา คาเปลา ที่กัดเซาะชั้นหินปูนและก้อนหินโดโลไมท์เป็นระยะเวลานานหลายพันปี เกิดการขยายตัวของคราบหินปูนทีละเล็กทีละน้อย มันจะค่อยๆ โตประมาณปีละ 1 เซนติเมตร ทำให้เกิดการเปลี่ยนโฉมหน้าตัวเองไปเรื่อยตามการทับถมของหินคาร์บอเนต
          ทะเลสาบพลิทวิเซ่ ตั้งอยู่ท่ามกลาง 3 เทือกเขา ทั้งเทือกเขา “Pljesevica”, “Mala Kapela” และ “Medvedak” ที่โอบล้อมทะเลสาบแห่งนี้ไว้ โดยทะเลสาบมีลักษณะทอดตัวยาวไปตามแนวร่องระหว่างเทือกเขา และมีเขื่อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ขวางกั้นทะเลสาบเป็นช่วง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากพวกมอส สาหร่าย และแบคทีเรีย ที่ก่อตัวเป็นเปลือกแข็งห่อหุ้มสลับกันไปเป็นชั้น ๆ แถมยังมีน้ำตก “เวลิกิ สแล็พ” (Veliki Slap) น้ำตกที่ใหญ่และสูงกว่า 70 เมตร ตั้งตระหง่านอย่างยิ่งใหญ่
          การเปลี่ยนของสภาพอากาศตามฤดูกาลระหว่างชายฝั่ง และเขตภาคพื้นทวีปมวลอากาศขนาดเล็กจำนวนมากทำให้เกิดฤดูร้อนแสนสบายและแสงแดด ขณะที่ส่วนอื่นยังคงเป็นฤดูหนาวต่อเนื่องไประยะยาวทั้งอากาศเย็นที่รุนแรงและหิมะจำนวนมาก มีพื้นที่ป่าไม้ที่กว้างใหญ่ซ้ำซ้อนในเขตพื้นที่อุทยาน บางส่วนของอุทยานถูกคุ้มครองเป็นพิเศษเป็นป่าสงวน พฤกษชาติถูกกำหนดเป็นลักษณะของป่ายุคแรกของโลก สถานที่และเงือนไขการความเป็นอยู่ที่หลากหลาย ทำให้เป็นไปได้ว่าจำนวนของชนิดของพืชและสัตว์น้ำและสัตว์บกในเขตพื้นที่ของอุทยาน จะเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่มีผลกระทบ
          นอกจากความสวยงามตามธรรมชาติแล้วนั้น ทะเลสาปพลิทวิเซ่แห่งนี้ ยังแวดล้อมไปด้วยป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด อาทิเช่น หมีสีน้ำตาล นกอินทรี และนกชนิดอื่น ๆ อีกกว่า 140 สายพันธุ์ ซึ่งเหตุนี้เอง จึงทำให้องค์การยูเนสโก้ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 1979 อีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้